พระราชกรณียกิจ(ขณะที่ครองราชย์)

สามารถจำแนกออกไปสองด้านคือ ๑.การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ๒.การฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง

ตั้งราชธานีใหม่

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเสียหายมากยากที่จะปฏิสังขรณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายมาสร้างเมืองหลวงใหม่ที่กรุงธนบุรี เพราะทรงเล็งเห็นว่าไม่ใหญ่โตเกินกำลังมีป้อมปราการที่แข็งแรงสามารถป้องกันข้าศึกศัตรูได้ เนื่องจากมีป้อมกันข้าศึกถึง ๓ ป้อม อีกทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นเมืองใกล้ทะเลสามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้สะดวก

การปกป้องแผ่นดิน

การปกป้องแผ่นดินเป็นพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้กระทำตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งนอก จากการต่อสู้เพื่อรวมแผ่นดินแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทางยุทธวิธีและความเชี่ยวชาญในการรบของทหาร จึงทำให้ทัพไทยรบชนะพม่าทุกครั้ง

สงครามครั้งที่ ๑ รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๐ [2]

สงครามครั้งที่ ๒ พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. ๒๓๑๓

สงครามครั้งที่ ๓ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๑๓ – พ.ศ. ๒๓๑๔

สงครามครั้งที่ ๔ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๑๕

สงครามครั้งที่ ๕ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๖

สงครามครั้งที่ ๖ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๗

สงครามครั้งที่ ๗ รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗

สงครามครั้งที่ ๘ อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘

สงครามครั้งที่ ๙ พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๙ สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นการรบครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มียศอย่างเจ้าต่างกรม คงดำรงตำแหน่งสมุหนายก

การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึง ปัจจุบัน

ใส่ความเห็น